วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จริงหรือที่วีรบุรุษผู้นี้ เป็น 1 ใน 4 วายร้ายของโลกตลอดกาล (Ernesto Rafael Guevara de la Serna)

จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันพุธ ที่ 11 พ.ค. 54  สกรูป เรื่อง "สันติภาพ(ไม่)มีในโลก?ความขัดแย้งที่รอจุดจบ" กล่าวถึง 4 ผู้ร้ายในสายตาชาวโลก



ความขัดแย้งที่รอจุดจบ

         
           หลังจากตามล่า “บิน ลาเดน” มาเนิ่นนานผู้นำสหรัฐอเมริกาก็ออกมาประกาศถึงการสังหารผู้นำกลุ่มอัล-กออิดะห์ได้สำเร็จ แต่ไม่นานก็มีเสียงร่ำลือว่านั้นเป็นเพียงข่าวลือ “บิน ลาเดน” แต่จะเสียชีวิตจริงหรือไม่ ทุกอย่างยังไม่จบ การแก้แค้นของสองฝ่ายยังคืบคลานและคร่าชีวิตมนุษย์กันอยู่เรื่อย ๆ แน่นอนว่าประชาชนในพื้นที่ซึ่งทำการรบย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยกับสิ่งที่เกิดขึ้น!
  
จึงมีคำเปรียบเปรยอันสวยหรูที่แปลได้สองด้านคือ สันติภาพ (ไม่) มีในโลก? ที่ผ่านมาเกิดสงครามมากมายทั่วทุกมุมโลก และมีผู้นำหลายคนที่ต่อกรกันอย่างข้ามวันข้ามปี จากที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของคนในโลก และมีหลายสงครามที่ชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเข้าไปเกี่ยวข้อง
  
“ไม่มีวันที่ทั้งโลกจะมีสันติภาพแบบร้อยเปอร์เซ็นต์” ดร.สมเกียรติ อริยปรัชญา คณบดีสถาบันการทูตและการต่างประเทศ ม.รังสิต กล่าวก่อนเล่าถึงภาวะความขัดแย้งอันนำสู่สงครามในหลายมุมโลกว่า ความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปกติของโลกที่เห็นมาตั้งแต่อดีต อย่างยุโรปสมัยกรีกหรือโรมัน และมีพัฒนาการด้านอาวุธมาอย่างต่อเนื่อง ระยะแรกเจ้าเมืองนึกอยากจะรบกับใครก็รบได้เหมือนยุคสุโขทัยและอยุธยา ยังไม่มีองค์การที่เป็นตัวกลางเหมือนสมัยนี้
  
ต่อมาความขัดแย้งพัฒนาสู่ผลประโยชน์ของรัฐมากขึ้นอย่าง ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา การค้าขาย แต่การรุกรานยังจำกัดวงอยู่ในทิศทางแคบ ๆ จวบจนการเดินเรือและการใช้นาฬิกาเข้ามามีบทบาท เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้มนุษย์เริ่มมองไปยังดินแดนที่ไกลขึ้นเพื่อสร้างอาณานิคมของตนด้วย
  
ในยุคล่าอาณานิคมประเทศในยุโรปที่เดินเรือได้พอเห็นประเทศที่เป็นคู่แข่งยึดเมืองขึ้นได้ก็เกิดการแย่งชิง จนหลายครั้งยุโรปก็รบกันเอง และสร้างความเสียหายมากมาย หรือสงครามศาสนาเช่น สงครามครูเสด ที่พอฝ่ายศาสนารบชนะก็จะทุบโบสถ์ของผู้แพ้และสร้างโบสถ์ของศาสนาตนเองทับที่เก่า
  
ถ้าหากมองสงครามที่ประเทศในยุโรปและสหรัฐรบร่วมกันเริ่มตั้งแต่ ยุค อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ของเยอรมนีก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างประเทศในยุโรปด้วยกัน ผู้ชนะได้ตั้งองค์กรเพื่อเป็นตัวกลางในการป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกขึ้นอีก
  
ในยุคต่อมาเป็นการต่อสู้ของชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกา เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่อยู่ตรงข้ามกับแนวทางประชาธิปไตยของตน ซึ่งสงครามเย็นครั้งนั้นมีสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาเป็นคู่ปรับที่ต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก หรือบุคคลอย่าง เช เกวารา ที่ถูกสังหารในโบลิเวีย ด้วยแนวความคิดทางการเมืองซึ่งไม่ตรงกัน และส่งผลให้ภาพลักษณ์ของเขาเป็นตัวแทนของการค้นหาแนวความคิดทางการเมืองของหนุ่มสาว
  
ขณะที่ผู้นำอย่าง ซัดดัม ฮุสเซน ถือว่าเป็นสงครามที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกามีคู่ต่อกรในยุคสงครามสมัยใหม่ เช่นเดียวกับ บิน ลาเดน ที่เป็นความขัดแย้งกับประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งดูเหมือนจะเพิ่มความบาดหมางระหว่างกันมากขึ้น
  
“ต้นเหตุของความขัดแย้งของยุโรปซึ่งร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาช่วงหลังมีต่อตะวันออกกลางปัจจัยด้านทรัพยากรน้ำมันเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ดูมีน้ำหนักทำให้ประเทศพันธมิตรต่าง ๆ เข้ามาร่วมรบกันอย่างแข็งขัน ตรงข้ามกับจีนและเกาหลีเหนือที่ชาติพันธมิตรมีความไม่พอใจอยู่บ้าง แต่ประเทศเหล่านั้นมีประชากรที่มากและมีอาวุธในการต่อรอง ซึ่งหากเกิดสงครามขึ้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างซึ่งไม่คุ้มต่อความสูญเสีย”
  
แต่สิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดสงครามในประเทศอาหรับ โดยมีชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเข้าไปเกี่ยวข้อง มีส่วนจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนเร่งให้ประชาชนภายในเห็นโลกภายนอกกว้างขึ้น และเกิดการกดดันผู้นำ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะปัจจัยภายนอกประเทศอย่างเดียวแต่ปัจจัยภายในของผู้นำประเทศก็เป็นอีกส่วนที่ต้องทำให้ประชาชนยอมรับ แต่เมื่อทั้งปัจจัยภายในและภายนอกกดดันก็ทำให้ประชาชนต้องต่อสู้กับผู้นำเองด้วย
  
ในส่วนกลุ่มอัล-กออิดะห์หลังขาดผู้นำอย่าง “บิน ลาเดน” ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะมีพลังได้อย่างเดิมเนื่องจากตัวผู้นำเดิมมีพลังและเงินในการใช้จ่ายสูง ส่งผลให้กลุ่มของตนมีการพัฒนาไปอย่างเป็นระบบและมีพลัง แต่หลังจากขาดผู้นำกลุ่มเหล่านี้จะเริ่มแผ่วลงเรื่อย ๆ
  
สำหรับหลายคนที่เป็นห่วงเรื่องอนาคตที่สงครามอาจกลับมาในเอเชียอีกครั้งเหมือนในอดีตด้วยเงื่อนไขของแหล่งอาหารค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งที่กลุ่มประเทศมหาอำนาจต้องการน่าจะเป็นน้ำมากกว่า เพราะด้วยเทคโนโลยีทำให้การผลิตอาหารมีประสิทธิภาพเพิ่มผลผลิตมากขึ้นในภาวะที่ลงทุนน้อยลง ดังนั้นจึงยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าที่ควร
  
อนาคตความขัดแย้งยังคงมีต่อไปตราบใดที่ยังมีมนุษย์ ซึ่งยังคาดเดาไม่ได้ว่าจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์เป็นตัวกำหนด และไทยเองก็เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่ทำได้แค่แสดงความคิดเห็นเท่านั้น
  
แม้วันนี้สันติภาพของโลกยังไม่เกิดแจ่มชัดนัก รวมถึงในประเทศของเราและเพื่อนบ้าน แต่สิ่งหนึ่งที่มุ่งหวังก็คือ ขอให้การกดขี่มีให้น้อยเท่าที่จะเป็นไปได้.

.................................
4 ผู้ร้ายในสายตาชาวโลก?


1. อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นนักการเมืองเยอรมนีสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด หัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี มีบทบาทสำคัญในการรุ่งเรืองของฟาสซิสต์ในทวีปยุโรป สงครามโลกครั้งที่สอง และการล้างชาติโดยนาซีจากการสอบสวนอย่างเป็นทางการของกองทัพรัสเซีย ทำให้เกิดข้อสรุปในประวัติศาสตร์ทั่วไปว่า ฮิตเลอร์ได้ฆ่าตัวตายพร้อม ๆ กับภรรยาในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ก่อนที่กรุงเบอร์ลินจะถูกยึดในอีกไม่นาน โดยเชื่อว่าฮิตเลอร์ใช้วิธียิงตัวตาย แต่ก็ยังมีบางส่วนเชื่อว่าฮิตเลอร์สามารถหนีออกจากกรุงเบอร์ลินได้ก่อนที่เบอร์ลินจะแตก ทำให้การเสียชีวิตของฮิตเลอร์ยังคงเป็นข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้
  
2. เช เกวารา นักปฏิวัติแนวมาร์กซิสต์ชาวอาร์เจนตินา และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 26 กรกฎาคม ของฟิเดล คาสโตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิวัติประเทศคิวบาเมื่อปี พ.ศ. 2502 เติบโตในครอบครัวที่มั่งมี เรียนจบมหาวิทยาลัยในสาขาแพทยศาสตร์ หลังจากพิธีรับปริญญาเพียง 25 วัน ได้เดินทางกับเพื่อนด้วยมอเตอร์ไซค์ไปทั่วอเมริกาใต้ เช ละทิ้งฐานันดรและครอบครัวของตนเองไว้ที่เม็กซิโก มุ่งสู่เกาะคิวบาเพื่อหวังจะล้มล้างระบอบการปกครองเผด็จการของฟุลเคนซีโอ บาซิสตา สร้างกลุ่มกำลังของตนเองเพื่อหวังจะทำการปฏิวัติในคิวบา หลังจากปฏิวัติสำเร็จในคิวบา เชได้ออกจากคิวบาในปี พ.ศ. 2508 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ประเทศอื่นเกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศโบลิเวีย ซึ่งที่โบลิเวียนี้ เขาถูกจับได้โดยกองทัพโบลิเวียซึ่งมีหน่วยสืบราชการลับกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐอเมริกาสนับสนุนอยู่ และถูกสังหารทันทีหลังจากที่ถูก  จับตัวได้ และเขาทิ้งไว้เพียงคำพูดสุดท้ายที่ว่า ยิงฉันเลย...ฉันมันก็แค่ผู้ชายธรรมดา คนนึง...
  
3. ซัดดัม ฮุสเซน  เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 จนกระทั่งถูกจับกุมและถอดออกจากตำแหน่ง สหรัฐอเมริกาและชาติอื่น ๆ ในประชาคมโลกยังคงเฝ้าระวังจับตามองซัดดัมด้วยความหวาดระแวงว่ามีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซัดดัมได้ถูกถอดถอนโดยสหรัฐและฝ่ายพันธมิตรในการบุกอิรักเมื่อปี พ.ศ. 2546 วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้พิพากษาศาลอิรัก สั่งลงโทษประหารชีวิตโดยการแขวนคอซัดดัม ในคดีสังหารหมู่ชาวชีอะห์ 148 คน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมือง ดูเญล เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549
    
4. โอซามา บิน ลาเดน เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและหัวหน้าอัล-กออิดะห์ เป็นผู้ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 และเป็นหนึ่งในสิบบุคคลที่สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ต้องการตัวมากที่สุด และเมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวแพร่สะพัดถึงการสังหารเขา.

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



ชีวะประวัติเช กูวารา จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net

Ernesto Rafael Guevara de la Serna
Ernesto Che Guevara (เช กูวารา) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 1928 (ข้อมูลหลายแห่งบอกว่า เขาเกิดในเดือนมิถุนายน แต่จริง ๆ แล้วมารดาของเขา ต้องการปกปิดว่าเธอตั้งครรภ์ก่อนแต่งราว สามเดือนจึงให้แพทย์ลงในใบเกิดว่าคลอดเดือนมิถุนายน เพราะการคลอดก่อนกำหนดเจ็ดเดือน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้) ที่เมือง โรซาริโอ (Rosario) อำเภอเล็ก ๆ ของกรุงบัวโนส ไอเรส (Buenos Aires) ประเทศอาร์เจนตินา ครอบครับของเขาเป็นชนชั้นกลาง เป็นบุตรของ Ernesto Guevara Lynch และ Celia de la Serna Llosa มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน และErnesto เป็นพี่คนโต

บิดาเป็นนักธุรกิจที่มีปัญหาเรื่องการเงิน อยู่เสมอ แต่ก็สามารถ ประคับประคองครอบครัวให้มีความสุขตลอดมา

ในวัยเด็ก Ernesto เกิดและโตอยู่ท่ามกลางเรื่องราวความแตกต่างของชนชั้นทางสังคมมาตลอด สายเลือดแห่งความเป็นนักสังคม และการมีบุคลิกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้คนยอมรับภาวะการ เป็นผู้นำของเขา ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดานั่นเอง
หนูน้อย Ernesto เริ่มเป็น โรคหอบหืด (Asthma) ตอนเอายุได้เพียงสองขวบเท่านั้น และโรคนี้ก็กลายเป็นโรคประจำตัว ของเขาไปตลอดชีวิต โรคหอบหืด เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของErnesto ในเวลาต่อมา เนื่องจาก เมื่อโตขึ้น เขาตั้งใจว่าจะเรียนวิชาแพทย์เพื่อหาทางรักษามันให้หายให้ได้

ปี 1947 Ernesto เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Universidad Nacional de Cordoba โดยเน้นวิชาการด้านผิวหนัง (Lepraleiden (โรคเรื้อน)) ครอบครัวของเขา ตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่ที่เมือง Alta Gracia ซึ่งอยู่ใกล้กับเมือง Cordoba เมืองที่เขาเรียนอยู่ ทั้งนี้เพราะที่เมืองนี้ มีอากาศที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพของ Ernesto

ในช่วงของการเรียนมหาวิทยาลัย Ernesto พยายามเล่นกีฬาหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ลัคบี้ เบสบอล ปีนเขา และอื่น ๆ โดยหวังจะเอาชนะโรคหอบหืด แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ครั้งหนึ่งในช่วงปี
1951 เขาตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวระยะยาวร่วมกับเพื่อนชื่อ อัลแบร์โต กรานาโด (Alberto Granado) ไปทั่วอเมริกาใต้ด้วยรถมอร์เตอร์ไซด์ (Motorradreise)

(บันทึกการเดินทางของเขา ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา "The Motorcycle Diaries") และการเดินทางครั้งนี้นอกจากทำให้เขาโด่งดังไปทั่วแล้ว ยังเป็นการเดินทางที่มีผลต่อแนวคิดครั้งยิ่งใหญ่ จนเขากลายเป็นนักปฏิวัติ ผู้ตั้งใจอุทิศชีวิต และเลือดเนื้อเพื่อคนชั้นล่างของสังคมในเวลาต่อมาด้วย

ในช่วงที่เดินทางผ่านประเทศ โบลิเวีย, ชิลี, เวเนซูเอลา รวมทั้งการทำงานเป็นแพทย์อาสา ในระยะเวลาสั้น ๆ ที่เปรู ทำให้ Ernesto ได้เห็นภาพความยากจนของชาวบ้านที่โดน กดขี่จากนักการเมือง และนักธุรกิจ ในท่ามกลางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของประเทศอย่างมาก หนุ่มน้อย Ernesto จึงหันมาสนใจการเมืองในอเมริกาใต้อย่างจริงจัง แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อเขาอย่างยิ่ง คือ มาร์กซิสต์ (Marxismus) อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว แนวคิดมาร์กซิสต์นี้ Ernesto ศึกษามาก่อนหน้าที่เขาจะท่องเที่ยวแล้ว ด้วยเขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือ รวมทั้งสนใจศึกษาปรัชญา การเมืองการปกครอง มาแต่สมัยเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองการปกครองของประเทศอาร์เจนตินา บ้านเกิดของเขาเอง ภายใต้การนำของผู้นำที่เขาเกลียด Juan Domingo Peron เพราะคอยกดขี่ประชาชน อยู่เเสมอ ภาพการถูกกดขี่ข่มเหงของประชาชนในอเมริกาใต้โดยทั่วไป ได้กลายเป็นสิ่งบ่มเพาะจิตสำนึก จนทำให้ Ernesto ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่า เขาจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อปลดปล่อยสภาพแบบนั้น ให้กับประชาชนชาวอเมริกาใต้ และคิดได้ว่า การทำงานเป็นแพทย์แต่เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือผลักดันให้เกิดภาพที่เขาอยากเห็นเหล่านั้นได้ ดังนั้น ปี 1953 หลังเรียนจบที่คณะแพทย์ ในขณะที่ Granado เพื่อเก่าที่เคยเดินทางด้วยกัน ย้ายไปทำงานที่เวเนซูเอล่า Ernesto กลับเดินทางไปประเทศกัวเตมาลา เพื่อเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ที่ต่อต้านJacobo Arbenz Guzmán ในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา และที่นี่เองที่เขาพบรักกับ Hilda Gadea Acosta หญิงชาวเปรูที่ลี้ภัยการเมือง

แม้จะเป็นเพียงแพทย์ในกลุ่ม แต่ด้วยประสบการณ์ และความทรงจำในกัวเตมาลา ผลักดันให้ Ernesto เดินทางต่อไปยังประเทศเม็กซิโก และได้แต่งงานกับ Hilda ที่นั่น และในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1956 เขาก็ได้ลูกสาวคนแรกชื่อ Hildita

เม็กซิโก คือสถานที่สำคัญในการพลิกชีวิตของเขาอีกครั้งเมื่อ Ernesto ได้พบกับ ฟิเดล คาสโตร (Fidel Casto) นักปฎิวัติหนุ่มชาวคิวบา (ผู้นำประเทศคิวบาคนปัจจุบัน) เป็นครั้งแรก ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 1955 ซึ่งในขณะนั้น ฟิเดล คาสโตร ผู้นำกลุ่ม Moncadistas เดินทางไปเม็กซิโกเพื่อลี้ภัยทางการเมือง ภายหลังที่เขาพึ่งพ้นโทษ ในข้อหาหัวหน้ากบฎจากปฏิบัติการโค่นล้มอำนาจประธานาธิบดีบาติสตา รัฐบาลผู้กุมอำนาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และกดขี่ชาวคิวบาอย่างแสนสาหัส
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม1953  คาสโตร รวบรวมสมัครพรรคพวกใหม่ รวมทั้งแอบฝึกกองกำลังติดอาวุธกับเพื่อนที่ลี้ภัยทางการเมือง ชาวคิวบา ผู้ร่วมปฎิบัติการวันที่ 26 กรกฎาคม (M-26-7) มาด้วยกัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการกลับไปปฏิวัติ นำประชาธิปไตยสู่ประเทศคิวบาอีกครั้ง โดยเน้นการรบแบบสงครามกองโจรเป็นหลัก Ernesto เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย ในการร่วมกับกลุ่มครั้งแรก Ernesto ทำหน้าที่เป็นหน่วยแพทย์ โดยมีชื่อสมาชิกว่า Che (เป็นคำเรียก เพื่อนสนิท เพื่อนตาย ภาษาอาร์เจนตินา หรือ อาจใช้เป็นคำทักทายกัน ทำนองเดียวกับ Hey ก็ได้ เหตุที่ Ernesto ได้รับชื่อ Che นี้ ก็เพราะตัวเขาเองมักทักทายเพื่อน ๆ ในกลุ่มว่า Hey เสมอ ๆ)

วันที่ 25 พฤศจิกายน 1956 กลุ่มคณะปฏิวัติรวมทั้งสิ้น 82 คน ออกเดินทางด้วยเรือยนตร์ขนาดเล็ก ชื่อ Granma จากเมือง Tuxpan ประเทศเม็กซิโกมุ่งหน้าสู่ประเทศคิวบา แต่เนื่องจากวันเดินทาง เป็นคืนเดือนมืด และต้องแรมเรืออยู่ในทะเลราวเจ็ดคืน จึงขึ้นฝั่งที่คิวบาได้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1956 และเพราะโดนคลื่นลมพัดพา จนลูกเรือหลายคนเมาคลื่น รวมทั้งทำให้ขึ้นฝั่งผิดเป้าหมาย ที่วางแผนกันไว้ เป็นผลทำให้กองกำลังปฏิวัติถูกโจมตีโดยกองทัพของประธานาธิบดีบาติสตา จนแตกพ่ายที่เทือกเขาในเขตเมือง Sierra Maestra เหลือกำลังพลเพียง 12 คน เท่านั้น และหนึ่งในนั้นก็คือ Che Guevara
ในปฏิบัติการรบด้วยวิธีแบบกองโจรนี้เอง ที่ทำให้ Che ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของเขาอย่างรวดเร็ว จากการทำหน้าที่แพทย์ ก็ค่อย ๆ กลายเป็นนักรบที่ต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู่โดยตรง และด้วยการปฏิบัติการที่เด็ดขาดแน่วแน่ รวมทั้งไหวพริบปฏิพานที่ได้รับการฝึกฝนทำให้ Che กลายเป็นทหารที่มีความสำคัญต่อกลุ่มในไม่ช้า และหลังจากที่หน้าที่ของกองกำลังแรกซึ่งเป็นกองเริ่มต้น ภายใต้การบังคับบัญชาของ ฟิเดล คาสโตร (Comandante en Jefe) สิ้นสุดลงในปลายปี 1956 Che ก็ได้ยกฐานะขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการ กองกำลังทหารปฏิวัติช่วงที่สอง (Comandante der Rebellenarmee) ซึ่งเป็นหนึ่ง จากทั้งหมด 9 ช่วงในการปฏิวัติครั้งนั้น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1957 นอกจากนั้นเขายังได้รับความไว้วางใจให้เป็น ผู้บัญชาการของกลุ่ม II Kolonne ด้วย

นักรบกองโจร คือ คนที่เสมือนผู้นำทาง เขาจะต้องช่วยคนจนเสมอ เขาจะต้องมีความรู้พิเศษทางเทคนิค มีวัฒนธรรมและศีลธรรมสูง มีความอดทนยิ่งต่อความทุกข์ทรมาน และความยากลำบาก และมีความสำนึกทางการเมืองสูงด้วย" Che (Guevara) ผู้เชื่อมั่นในวิธีการต่อสู้ด้วยสงครามกองโจร เคยกล่าวไว้

หลังจากกลุ่มของเขา ต่อสู้แบบกองโจรได้ราวสองปี แม้จะต้องแตกพ่ายในช่วงแรก แต่ในที่สุดที่เมือง Santa Clara (ซานตาครูส) วันที่ 1 มกราคม 1959 กองกำลังก็สามารถเข้ายึดอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จจากประธานาธิบดีบาติสตา ซึ่งสุดท้ายก็แอบหลบหนีออกจากคิวบาไป
แม้ก่อนหน้าที่จะยึดอำนาจได้สำเร็จกลุ่มของคาสโต จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกับนายทุนอเมริกัน ผู้คาดหวังชัยชนะของคาสโตรจะทำให้มีโอกาสกอบโกยในคิวบา แต่คาสโตก็ขอรับการ สนับสนุนการปฏิวัติจากสหภาพโซเวียตด้วยในเวลาเดียวกัน และหลังจากการปฎิวัติสำเร็จลง คาสโตร เลือกที่จะยืนอยู่ตรงกันข้ามกับสหรัฐ นั่นหมายถึง เลือกอยู่ข้างค่ายโลกคอมมิวนิสต์แทน
Che ได้รับสัญชาติเป็นชาวคิวบา ในปี 1959 เพื่อเป็นการขอบคุณเขาในฐานะเป็นผู้ร่วมโค่นล้ม บาติสตา ลงได้ และนอกจาก ฟิเดล คาสโตร , หลุย์ คาสโตร, คามิโล คีนฟูโก แล้ว Che ก็มีตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลใหม่แห่งคิวบาด้วย ทั้งนี้เพื่อร่วมกันดำเนินการปฏิรูปประเทศใน ส่วนสำคัญ ๆ อย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตามในรัฐบาลสังคมนิยมชุดนี้ แนวทางคอมมิวนิสต์ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวคิดของ Che และเข้มแข็งมากกว่าแนวปฏิบัตินิยม และการเมืองนิยมของคาสโตร จุดสูงสุดทางตำแหน่งทาง การเมืองของ Che คือ ช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และเป็นผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งชาติของคิวบา ราวต้นปี

"ผมไม่ได้ทิ้งสมบัติอะไรไว้ให้ภรรยาและลูกๆ ของผม แต่ผมก็ไม่เสียใจ กลับรู้สึกมีความสุขที่มันเป็นไปอย่างนี้" (จดหมายลาถึงคาสโตร) ครั้งนั้นเองที่แสดงให้เห็นว่า แม้ Che Cuevara จะได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในประเทศคิวบา เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแล้วก็ตาม แต่ด้วยวิญญาณแห่งการปฏิวัติที่ไม่เคยมอดไหม้ ประกอบกับความตั้งใจแน่วแน่ของเขาที่จะช่วยประชาชนชาวอเมริกาใต้ให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มเหงโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ หรือสัญชาติ ยศฐาบรรดาศักดิ์ทั้งหลายก็ไม่อาจทำลายแนวคิดเหล่านั้นได้
อย่างไรก็ตาม มีผู้กล่าวว่า หนึ่งในหลายเหตุผลที่ Che ตัดสินใจกลับเข้าป่าปฏิวัติอีกครั้ง ทั้งที่อายุย่างเข้าวัยกลางคน และมีโรคหืดหอบประจำตัว ก็คือ ความไม่สมหวังในการสร้างคิวบา Cheชิงชังความเห็นแก่ตัว และการให้ความช่วยเหลืออย่างเสียไม่ได้ที่โซเวียต และประเทศยุโรปตะวันออกในยุค ครุสชอพ มอบให้แก่ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย Che จึงลอกคราบการเป็นนักบริหาร และนักการฑูตของคิวบาซึ่งตัวเขาเป็นมาหลายปีออกแบบไม่ไยดี หันกลับไปสู่ป่าเพื่อการปฏิวัติโดยไม่ได้หยุดหย่อน ในประเทศอื่น ๆ ที่ยังตกอยู่ภายใต้ ลัทธิจักวรรดินิยม และเตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิต และความรู้สึกเยี่ยงมนุษย์ที่ยากจน ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง Che พร้อมเพื่อน ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เข้าร่วมสงครามปฏิวัติที่ คองโก ในทวีปแอฟริกา ในปี 1965 แต่ก็ล้มเหลว

จากนั้นปี 1966 เขาจึงเดินทางเข้าไปยังประเทศโบลิเวีย เพื่อร่วมกับกลุ่มกบฏโบลิเวีย ทำสงครามปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการโบลิเวียในสมัยนั้น กลุ่มนักรบของ Che ราว 44 คน พยายามนำยุทธวิธีกองโจร ที่ใช้ได้ผลมาแล้วสมัยสู้รบกับคาสโตครั้งปฏิวัติคิวบา มาใช้อย่างเต็มที่ แต่ด้วยความแตกต่างกันทั้งพื้นที่ และลักษณะแนวคิดพื้นฐานของชาวโบลิเวีย ที่แตกต่างจากชาวคิวบา ทำให้วิธีการของเขาใช้ไม่ค่อยได้ผล แม้ในด้านหนึ่งชาวบ้านโบลิเวียจะเห็นด้วย และชื่นชมกลุ่มของเขา แต่มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่พร้อมจะหักหลังกลุ่ม พวกเขาเช่นกัน

กองกำลังปฏิวัติของ Che โดนตีแตกกระจาย หัวหน้ากลุ่มที่แตกไป ถูกฆ่าตายตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 1967 ส่วน Che และพวกที่เหลืออีกเพียง 14 คน โดนยิงบาดเจ็บ และถูกจับได้ในเดือนตุลาคม 1967 ที่ La Higuera เขตพื้นที่เล็ก ๆ ในเทือกเขา Cordillera ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของโบลิเวีย โดยกองกำลังทหารของรัฐบาลโบลิเวีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก CIA ของสหรัฐอเมริกา Che ถูกจองจำไว้ที่ La Higuera โดยมีเจ้าหน้าที่ของ CIA และ Felix Rodríguez ผู้ลี้ภัยชาวคิวบา ทำหน้าที่สอบปากคำในฐานะเชลยศึก และไม่มีการพิพากษาใด ๆ ในชั้นศาล Che ถูกสั่งฆ่าด้วยการยิงเป้า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1967 เวลา 13.10 น. จบชีวิตนักปฏิวัติที่มุ่งมั่น ด้วยวัยเพียง 39 ปี เท่านั้น
ภายหลังการถูกฆาตรกรรม ร่างของ Che ถูกทำให้ไร้ร่องรอย มือทั้งสองข้างของเขาถูกตัด เพื่อปิดช่องทางการพิสูจน์ตัวตน ร่างของเขาถูกนำไปฝังในสถานที่ลับห่างจากเมือง Vallegrande ราว30 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในโบลิเวีย (และห่างจากซานตาครูซ ประเทศคิวบาราว 125 กิโลเมตร) แต่ในที่สุดโครงกระดูกของ Che ก็ถูกค้นพบเมื่อปี 1997 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโบลิเวียเป็นผู้พิสูจน์ ว่าโครงกระดูกนั้นเป็นของ Che Guevara จริง

กระดูกของเขาถูกส่งกลับไปยังเมืองซานตาครูส ประเทศคิวบา สถานที่ที่เขาเป็นวีรบุรุษผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร เมื่อปี 1958 เพื่อล้มรัฐบาลกดขี่ของบาติสตา คิวบาเก็บโครงกระดูกของ Che ไว้ที่ Mausoleum หลุมฝังศพอันทรงเกียรติ ในซานตาครูซ และที่นั่นเอง (รวมทั้งอีกหลาย ๆ แห่งทั่วประเทศคิวบา) ชาวคิวบาได้สร้างอนุเสารีย์ Ernesto Che Guevara ในรูปที่พวกเขาคุ้นเคย คือ มือหนึ่งถือปืน ส่วนแขนข้างซ้ายเข้าเฝือกไว้ ขึ้นเป็นตัวแทนแห่งวีรบุรุษนักปฏิวัติ ที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นล่างของสังคมจากการกดขี่ข่มเหงของนายทุนใน ลัทธิจักวรรดินิยม และมีพิพิธภัณฑ์ Che Guevara แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติชีวิต และการต่อสู้ของ Che เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วย

"คุณภาพชีวิตจะต้องดีขึ้นด้วย ความหมายของการครองชีวิตต้องจัด ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ... ผู้ใช้แรงงานจะรู้สึกว่าการทำงานเป็นความภาคภูมิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์" และ "ลัทธิทุนนิยมได้ติดสินบนความภาคภูมิใจของคนงาน และเปลี่ยนเขาไปสู่ความละโมบเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันผิด ๆ คือ เขาทำงานเพื่อเงิน ไม่ใช่ทำงานเพื่องานของสังคม การพัฒนาความสำนึก หมายความว่า ปลุกเร้าให้กรรมกรทำงานด้วยความเต็มใจ และยินดี ไม่ใช่เพื่อความทะเยอทะยาน ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เพื่อบรรลุอุดมการณ์ของพวกเขา เพื่อความเชื่อในตัวผู้นำของเขา และเพื่อความปรารถนาอนาคตที่ดีกว่าสำหรับสังคมทั้งมวล อันจะย้อนเข้ามาสู่ตัวพวกเขาเอง โดยมีรัฐเป็นผู้ดูแลสนองสิ่งที่เขาต้องการทุกอย่าง ด้วยวิธีนี้จะทำให้คนงานสามารถใช้แรงงานเพื่อสิ่งที่ดีงามโดยสิ้นเชิง จนกระทั่งเงินตรากลายเป็นสิ่งล้าสมัย เหมือนกับ การค้าทาส ที่ต้องสิ้นสุดลง"

นั่นคือ สังคมในอุดมคติของ Che เป็นฝันไกลที่มนุษย์ยังไปไม่ถึง แม้แต่ประเทศที่ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์เองก็ตาม แต่ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่า ความฝันเช่นนี้หมดความหมายลงโดยสิ้นเชิง เพราะครั้งหนึ่ง ก็เคยกระตุ้นคนหนุ่มสาวให้ร่วมฝัน ร่วมสู้ ร่วมสร้างมาแล้ว

มีผู้กล่าวว่า สิ่งที่ Che ทำ มันไม่เคยสำคัญเลยว่าเขาจะประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว จิตใจ ความมุ่งมั่น และการได้ลงมือทำจริง ๆ จัง ๆ ของเขา ที่จนทุกวันนี้ก็หาคนทำเช่นนั้นไม่ได้ต่างหากที่สำคัญยิ่งกว่า การกระทำที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตใจที่ดีงาม อยากช่วยปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพผู้ถูกกดขี่ ไม่เคยได้รับความเป็นธรรม ซากความฝันของเขา อาจยังมีพลังจาง ๆ แอบแฝงอยู่ในสังคมปัจจุบันที่มุ่งลิ่วไปในทิศทางทุนนิยม เป็นพลังจางที่ทำให้เหลือส่วนเสี้ยวริ้วรอยของความฝันเก่า ๆ อยู่บ้างก็เป็นได้ และคงเพราะ Che Geuvara ไม่ยึดติดกับตำแหน่งใหญ่โตในคิวบา เขาจึงกลายเป็นตำนาน ในจิตใจคนหนุ่มสาวทั่วโลก แม้เวลาจะผ่านมานานถึง 30 กว่าปีแล้วก็ตาม

แนวคิดสังคมนิยม ของ Che มีความหมายมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ หรือมุ่งเน้นแต่เรื่องยกระดับการครองชีพ 1960 รวมทั้ง ช่วงสั้น ๆ ของการเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 1961 ด้วย นอกจากงานทางด้านการเงิน การคลังแล้ว Che ยังได้รับมอบหมายงานที่เกี่ยวกับนโยบาย การปฎิรูปที่ดินในคิวบา โดยเขาเป็นผู้ผลักดัน และดำเนินการตามเป้าหมายแรกสุดของกลุ่ม ภายหลังการปฏิวัติสำเร็จ ก็คือ ยึดที่ดินของนักธุรกิจทั้งหลายมาแปลงให้เป็นทรัพย์สิน แล้วแจกจ่ายให้กับประชาชนของคิวบา และเมื่อรัฐบาลของคาสโตร ประกาศยึดที่ดินจากนายทุน มาแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยให้ผลตอบแทนนายทุนบ้างเล็กน้อย ฝ่ายข่าวกรอง นอกประเทศของสหรัฐ จึงตัดสินใจเข้ามามีบทบาทการเมืองในประเทศนี้ทันที ด้วยการหันไปหนุนบาติสตาผู้สูญเสียอำนาจให้กลับมาช่วงชิงอำนาจคืนอีกครั้ง แต่ก็ทำไม่สำเร็จ ฝ่ายอำนาจเก่าพ่ายแพ้ในการปะทะอย่างราบคาบ

ในช่วงเวลาที่เป็นผู้อำนวยการธนาคาร แห่งชาตินั้น Che กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมือง และกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาศัยเรื่องคุณธรรมจริยธรรม เป็นพื้นฐานเท่านั้น เขาพยายามเรียกร้องให้คิวบาเลิกพึ่งพาความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาในทุก ๆ ด้าน แล้วหันไปขอความช่วยเหลือจากค่ายสหภาพโซเวียตแทน รวมทั้งให้ใช้ชีวิตอย่างไม่ฟุ่มเฟือย สิ้นเปลือง เขาเรียกโปรเจคชิ้นนี้ว่า “New Man” แม้แนวคิดดังกล่าว จะถูกโต้แย้ง แต่ยิ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นแรงผลักให้ Che พยายามปฏิบัติให้เห็น เป็นตัวอย่างว่า สิ่งที่เขาคิดเป็นเรื่องที่ทำได้จริง ๆ
วันที่ 22 พฤษภาคม 1956 Che แยกทางกับ Hilda ซึ่งอยู่ที่เม็กซิโก แล้วแต่งงานใหม่ เมื่อวันที่ 2 มิถุนยน 1956 กับหญิงชาวคิวบา Aleida March ซึ่งทำงานเป็นหน่วยส่งเอกสาร ให้กับคณะปฏิวัติ ซึ่งได้รู้จักกันในระหว่างการสู้รบที่คิวบา

ภายหลังการรับ ตำแหน่งสำคัญ ๆ เหล่านั้น Che ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ เขาวางแผน ศึกษา เรียนรู้ ทั้งวันทั้งคืนเท่าที่จะทำได้ แม้เขาจะมีบุตรกับ Aleida 4 คน แต่ลูก ๆ ของเขาได้เจอเขาน้อยมาก เพราะเขาทำงานวันละ 18 ชั่วโมง 

Che ทำงานด้วยความสมัครใจของเขาเอง เขาปฏิเสธที่จะรับเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ อันเนื่องมาจากการมีตำแหน่งนั้น ๆ ทั้งสำหรับตัวเขาเอง และครอบครัว ครั้งใดที่ภรรยาของเขาAleida จำเป็นต้องใช้รถประจำตำแหน่ง Che จะจ่ายเงินค่าน้ำมันรถเอง ความพยายามทุก ๆ อย่างของเขา ก็คือ เขาอยากให้ใคร ๆ ได้เห็นภาพของวิธีคิด และการปฏิบัติตัว (New Man) โดยเขายินดีที่จะเริ่มเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน และด้วยการทำงานหนัก และการดำเนินการ ตามแผนเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัด ของ Che ในช่วงนั้นเองที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจที่เคยล้มเหลวของคิวบากระเตื้องขึ้น รวมทั้งช่วยหยุดความขาดแคลนทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้จนถึงทุกวันนี้

1961 Che ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1962 เขาเปิดเจรจาข้อตกลงกับสหภาพโซเวียต (Union der Sozialistischen Sowjetrepubliken หรือ UdSSR ) เกี่ยวกับการขอความสนับสนุนด้านอาวุธ และด้านอื่น ๆ อย่างจริงจัง ภายหลังจากทีอเมริกาเริ่มไม่พอใจที่คิวบากระทำต่อนักธุรกิจอเมริกัน แล้วหันไปเข้ากับสหภาพโซเวียตแทน อเมริกาเพิ่มแรงกดดันทางการทหารกับคิวบามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชายฝั่งเมือง Havanna เรือสัญชาติฝรั่งเศษ (La Coubre) ถูกรอบวางระเบิด ในปี 1961 เป็นผลให้คนบนเรือตายไป 75 คน และอีก 200 คนได้รับบาดเจ็บ และรัฐบาลคิวบาสืบทราบว่าCIA เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดครั้งนั้น และการยืนไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นเองที่ภาพของ Che ถูกบันทึกไว้ โดยช่างภาพชื่อ Alberto Diaz Korda แล้วถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับบ่ายวันที่ 5 มีนาคม 1960 ในภาพซึ่งแสดงให้เห็น ดวงตาที่ฉายแววแห่งความเศร้า ปนความโกรธ และความมุ่งมั่นดื้อรั้นของ Che ทำให้ภาพนั้นกลายเป็นภาพที่โด่งดังที่สุดในบรรดาภาพถ่ายทั้งหลาย เพราะเป็นเหมือนภาพสัญลักษณ์ของนักต่อสู้ และการปฏิวัติที่แน่วแน่ และยิ่งใหญ่

1964/65 Che เดินทางไปในหลายประเทศเพื่อเจรจาเรื่องต่าง ๆ อาทิ ประเทศในทวีปเอเชีย สิงคโปร์ จีน หรือแม้แต่การเข้าประชุมกับองค์การสหประชาชาติ UN เพื่อประกาศความไม่สนใจ หรือไม่ต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป อันเป็นการกล่าวคำปราศรัยที่โด่งดังที่สุดอีกครั้งหนึ่งของเขา

ต่อมา ในเดือนตุลาคม ปี 1965 คาสโต ได้รับจดหมายลาจาก Che ใจความว่า เขาขอสละตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งสัญชาติคิวบาด้วย เพื่อเขาจะกลับไปต่อสู้กับลัทธิจักรวรรดินิยมอีกครั้ง